รีวิวคลาสเรียน LeSS (Large-Scale Scrum) at Jago bank ตอนที่ 4 (Teams)

ทีมใน LeSS คือกลุ่มคนที่ทำงานร่วมกันเพื่อส่งมอบ Product ที่อาจ Deliver ได้เพิ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุด Sprint แต่ละครั้ง โดยในทีมนั้นก็จะมีกลุ่มคนที่มีสกิลแตกต่างกัน เช่น Engineer, Designer, หรือ QA โดยทุกคนนั้นจะโฟกัสในการแก้ปัญหาเดียวกัน

ทีมใน LeSS จะต้องมีความสามารถในการ cross-functional (ทำงานได้หลายอย่าง) และ self-management (จัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง) ซึ่งหมายความว่า ทีมจะมีทักษะและความเชี่ยวชาญที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อส่งมอบ Product ได้อย่างราบรื่นและทีมจะต้องสามารถตัดสินใจว่า แบ่งานกันอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด

Team based organization

จะมีโครงสร้างใน LeSS ดังนี้

  • Dedicated teams คือสมาชิกในทีมจะใช้ Responsibility ร่วมกันมีความเป็น Ownership ใน Product ร่วมกันไม่มีแบ่งแยกว่านั่น Code ฉัน นั่นงานเธอ
  • Cross-functional teams คือการที่สมาชิกของทีมมีทักษะที่หลากหลายและเพียงพอในการ Deliver Product ได้อย่างราบรื่น
  • Co-located teams คือการที่ทีมสามารถที่จะทำงานในสถานที่เดียวกัน ในห้องเดียวกัน เวลามีปัญหาก็สามารถเดินไปถามกันได้ทันที
  • Long-lived teams คือทีมที่มีสมาชิกไม่เปลี่ยนแปลงต่อให้ Product จะเปลี่ยนไป

ทีมใน LeSS จะต้องมี Responsibility ในการรักษาการสื่อสารพูดคุยกันอย่างใกล้ชิดและการทำงานร่วมกันกับทีมอื่นๆ (การทำงานใน LeSS จะมีทีมมากกว่า 1 ทีม) ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับ Product เดียวกัน สิ่งนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าทุกคนทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกัน และมีแนวทางที่สอดคล้องกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั่วทั้งองค์กร

โดยสรุป ทีมงานใน LeSS เป็นกลุ่มบุคคลที่เป็น Cross-functional teams ที่สามารถ self-management ได้และทำงานร่วมกันเพื่อส่งมอบ Product ได้อย่างราบรื่น และยังสามารถ Communicate กับทีมอื่น ๆ ที่ทำงานใน Product เดียวกันได้ด้วย

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s